Mushroom

Diary 4


บันทึกการเรียนรู้คร้งที่ 4 
Parent Education for Early Childhood
วันพุธที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2560
เวลา 11.30-14.30
_________________________________________

เรื่อง โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการในประเทศไทย

    โครงการแม่สอนลูก 
 - ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน 
      ได้นำแนวทางของโปรแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปีประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย

 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
     ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว บ้านล้อมรัก
     ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภายใต้คำขวัญ พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
 - ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
      โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ รวมพลัง รักการอ่านขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
            เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่อง
มีกิจกรรมดังนี้
 - การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
 - จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

 โครงการต่างประเทศ 

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย

ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)

     ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
- สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
- จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
 - ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น

โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
      อาจเรียกโครงการนี้ว่าเป็นการจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม  สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ อุปกรณ์ และสอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
     เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย
โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
 - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
 - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
- ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ

โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
      ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536  โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ

โครงการ Brooklyne Early Childhood
     เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก  ดำเนินการโดย Brooklyne Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง โดยการจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ

โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์

      เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ
                                     พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก

โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
      มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
     นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ ถุงบุ๊คสตาร์ท
ภายในถุงประกอบด้วย
-   หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
-   หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
- ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
- แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
- บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
- รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
- รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
     โครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี หนังสือภาพเป็นสื่อกลาง   


คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
👮👮 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการอบรบเลี้ยงดูเด็ก เพื่อที่จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามช่วงวัยที่เหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กรักในการอ่าน 

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
👮👮 มีการให้ความรู้ด้วยวิธีที่น่าสนใจ และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ   
👮👮   1. เลี้ยงลูกให้มีอารมณ์ที่มั่นคง  เด็กๆหลายคนที่มักจะมีปัญหาเรื่องอารมณ์ เมื่อไม่ได้ดังใจก็จะร้องไห้อย่างเดียวแต่ผู้ปกครองสามารถหยุดพฤติกรรมได้ด้วยวิธี กำหนดขอบเขตที่เหมาะสม เช่น ถ้าทำความดีหนึ่งอย่างจะได้ของเล่นหนึ่งชิ้น 
           2. อย่า!ช่วยลูกจนเกินไป การช่วยลูกจนติดจะทำให้ลูกอยากทำอะไรเองและเมื่อต้องทำเองจะเอาแต่ใจตัวเองในทันที 
          3. ไม่ควรห้ามความรู้สึกเด็ก เช่น ถ้าเขาล้มแล้วร้องไห้ ไม่ควรห้ามเขาไม่ให้ร้อง แต่ควรถามเขาว่าเขาเจ็บใช่ไมถึงร้อง แล้วใครเป็นคนทำ หนูทำเองใช่ไม เพราะอย่างนั้นหนูต้องระวังจะได้ไม่เจ็บ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักรับผิดจากการกระทำของตนด้วย
          4. สร้างวินัยให้ลูกน้อย เช่น การให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนถายในบ้าน การให้เด็กช่วยล้างจาน กวาดบ้าน จัดโต๊ะ ทำเท่าที่เขาทำได้ เพียงให้เขารู้ว่าเขาต้องทำ เพราะเป็นหน้าที่ 
           5. พ่อแม่อย่าตีกรอบ  การตีกรอบไว้ให้ลูกผู้ปกครองอาจคิดว่ามันดี อาจจะเติมเต็มในส่วนที่ตนขาดอยากให้ลูกมี จงหยุดความคิดนั้นเนื่องจากจะส่งผลให้เด็กเป็นเด็กที่เก็บกด ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูดความรู้สึกของตน และเด็กจะไม่มีความคิดที่สร้างสรรค์ 

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย
👮👮 ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กได้หากผู้ปกครองไม่เข้าใจในตัวเด็กจะทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป เช่น หากเด็กพูดคุยแล้วผู้ปกครองตะคอกใส่เขาหรือห้ามเขา จะทำให้เขาไม่กล้าที่จะพูดหรือแสดงความคิดเห็นอีก แต่ถ้าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจก็จะสามารถแก้ไขพฤติกรรมของเด็กได้ 

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
👮👮 - การเยี่ยมบ้าน เพราะจะทำให้ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ และการเลี้ยงดูเด็ก 


ประเมิน
ครูผู้สอน : ให้ความรู้อย่างเต็มความสามารถ
ผู้ร่วมเรียน , ผู้เรียน : ให้ความสนใจกับการเรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น